โครงการจัดทำระบบทดสอบความรู้ด้านภาษาไทยสำหรับบุคคลทั่วไป ออนไลน์
สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

หลักการและเหตุผลการจัดทำ

หน้าที่สำคัญอย่างหนึ่งของสำนักงานราชบัณฑิตยสภาตามพระราชบัญญัติราชบัณฑิตยสภา พ.ศ. ๒๕๕๘ คือ การอนุรักษ์ภาษาไทยมิให้แปรเปลี่ยนไปในทางที่เสื่อมและการส่งเสริมภาษาไทยซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของชาติให้ปรากฏเด่นชัดยิ่งขึ้น และจัดการศึกษาอบรมและพัฒนาทางวิชาการเกี่ยวกับภาษาไทย และให้บริการทางวิชาการแก่ส่วนราชการ สถาบันการศึกษา และประชาชนในการพัฒนาความรู้ทางด้านภาษาไทย

สำนักงานราชบัณฑิตยสภาจึงได้จัดทำเกณฑ์มาตรฐานวัดความรู้ด้านภาษาไทยสำหรับบุคคลทั่วไป ในระบบออนไลน์ (on line) เพื่อให้บุคคลทั่วไปวัดระดับความรู้ทางด้านภาษาไทยได้ด้วยตนเอง ทำให้สามารถปรับปรุงและพัฒนาความรู้ด้านภาษาไทยที่จะนำไปใช้ ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อันจะเป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงและพัฒนาการเรียนรู้ด้านภาษาไทยทั่วประเทศ

กลุ่มเป้าหมาย

บุคคลทั่วไป

วัตถุประสงค์

เพื่อวิจัยและจัดทำระบบทดสอบความรู้ด้านภาษาไทยสำหรับบุคคลทั่วไป ออนไลน์

เกณฑ์แบบทดสอบ

- ข้อสอบปรนัย ๕๐ ข้อ (๕๐ คะแนน)
- การใช้ภาษา ๓๐ ข้อ ๓๐ คะแนน (ผ่าน ๑๕ คะแนน)
- ความเข้าใจภาษา ๒๐ ข้อ ๒๐ คะแนน (ผ่าน ๑๐ คะแนน)

เวลาในการทำแบบทดสอบ

๑ ชั่วโมง ๓๐ นาที

ระดับการทดสอบ

- ผ่าน มากกว่าร้อยละ ๕๐
- ไม่ผ่าน ต่ำกว่าร้อยละ ๕๐

โครงสร้างเกณฑ์มาตรฐานวัดความรู้ภาษาไทยสำหรับประชาชนทั่วไป

 เนื้อหา จำนวนข้อสอบ
 ๑. การใช้ภาษา  ๓๓ ข้อ
   ๑.๑ การใช้คำ  
    ๑.๑.๑ การสะกดคำตามอักขรวิธี  ๗ ข้อ
              - วรรณยุกต์  
              - ตัวสะกดการันต์  
              - การประวิสรรชนีย์/ ไม่ประวิสรรชนีย์  
              - อักษรควบ, การใช้ ร ล  
              - อักษรนำ  
    ๑.๑.๒ การอ่านออกเสียงให้ถูกต้อง  ๑ ข้อ
    ๑.๑.๓ การใช้คำและสำนวนให้ถูกต้อง  ๑๒ ข้อ
              - ถูกความหมาย (คำมูล, คำสมาส,คำประสม, คำซ้อน, ลักษณนาม)  
              - ถูกหน้าที่ (นาม, กริยา, บุพบท, สันธาน)  
              - ถูกกาลเทศะและบุคคล  
              - ใช้คำทับศัพท์ (ใช้ทับศัพท์โดยไม่จำเป็น)  
              - ใช้สำนวนไทยถูกต้อง  
   ๑.๒ การใช้ประโยค   ๘ ข้อ
    ๑.๒.๑ ประโยคถูกไวยากรณ์  
              - ประโยคสมบูรณ์ไม่ขาดส่วนประกอบสำคัญ  
              - ไม่มีคำเกิน  
    ๑.๒.๒ ประโยคกะทัดรัด  
              - ใช้ถ้อยคำกระชับ  
              - ไม่ใช้คำฟุ่มเฟือย ซ้ำซาก  
    ๑.๒.๓ ประโยคชัดเจน  
              - ไม่กำกวม, ตีความได้อย่างเดียว  
              - วางส่วนขยายถูกที่  
              - ไม่ใช้ถ้อยคำขัดแย้งกัน  
    ๑.๒.๔ ประโยคสำนวนภาษาไทย  
              - โครงสร้างประโยคภาษาไทย  
   ๑.๓ ระดับภาษา ภาษาเขียน ภาษาพูด ถูกกาลเทศะและบุคคล   ๕ ข้อ
    ๑.๓.๑ ภาษาทางการ  
              - ราชาศัพท์  
              - ภาษาราชการ, ภาษาเขียน  
    ๑.๓.๒ ภาษาระดับสนทนา  
              - ภาษาพูดในชีวิตประจำวัน  
 ๒. ความเข้าใจภาษา  ๑๗ ข้อ
   ๒.๑ การอ่าน  ๑๓ ข้อ
              - จับใจความสำคัญ  
              - แนวคิด  
              - เจตนา  
              - สอดคล้อง, ไม่สอดคล้อง  
              - อนุมานได้, ไม่อาจอนุมานได้  
              - การใช้เหตุผล  
              - กล่าวถึง, ไม่กล่าวถึง  
   ๒.๒ การเขียน  ๔ ข้อ
              - การเขียนเรียงลำดับข้อความ  
              - ประโยคใจความสำคัญ